Monday, February 4, 2013




กอสเปล


กอสเปล (อังกฤษGospel music) คือแนวเพลงที่เน้นเสียงร้องเป็นหลัก กอสเปลจะมีลักษณะการร้องประสานเสียง การร้องเฉลิมฉลอง และใส่ความเชื่อทางศาสนาในเนื้อร้อง โดยกอสเปลได้ซึมเข้าไปดนตรีหลายๆประเภทอย่าง ดู-ว็อป ,คันทรี-กอสเปล,contemporary gospel, urban contemporary gospel,Modern Gospel music
กอสเปลเชื่อว่ามีที่มาจากโบสถ์ชาวแอฟริกัน-อเมริกัน ตอนต้นศตวรรษที่ 20 นักร้องชื่อดังแนวกอสเปล Sister Rosetta Tharpe มีเพลงขึ้นในชาร์ทในปี 1938 ทุกวันนี้กอสเปลได้แตกแยกย่อยเป็นหลายๆแนว ปลายยุค 70 Contemporary Christian Music คือเพลงซอฟท์ร็อกประเภทนึงได้เข้าสู่ดนตรีกระแสหลัก จนมาถึงยุค 80 และ 90 เพลง Contemporary Christian Music ก็ยังอยู่ได้รับความนิยมเพียงแต่มีเนื้อหาเกี่ยวกับศาสนา

เพลงป๊อป


เพลงป็อปจะถูกแต่งขึ้นเพื่อหวังกลุ่มคนฟังกลุ่มใหญ่โดยได้แรงผลักดันจากค่ายเพลงใหญ่ เริ่มจากในดนตรีประเภท Ragtime จากนั้น Ragtime เริ่มมาทางสวิง จากนั้นก็เป็นดนตรีแจ๊สที่สามารถเต้นรำได้ ดนตรีป็อปสามารถรวมได้ถึงบลูส์ที่มีต้นกำเนิดจากคนผิวดำในอเมริกา และดนตรีคันทรีที่เริ่มปรับจนกลายเป็นแนว Rockabilly (เพลงร็อกแอนด์โรลล์ยุคแรก)
ในยุค 50 เพลงร็อกแอนด์โรลล์ได้รับความนิยม มีศิลปินที่ได้รับความนิยมอย่างเอลวิส เพรสลีย์ ต่อมาในยุค 60 เป็นยุคของทีนไอดอลอย่างวง เดอะ บีทเทิลส์เดอะ บีชบอยส์คลิฟ ริชาร์ดโรลลิ่ง สโตนส์,แซนดี ชอว์ เป็นต้น
ในยุค 70 เป็นยุคของดนตรีดิสโก้ มีศิลปินอย่าง แอบบ้าบีจีส์ และยังมีดนตรีประเภทคันทรีที่ได้รับความนิยมอย่าง ดิ อีเกิลส์ หรือดนตรีป็อปที่ได้รับอิทธิพลจากร็อกอย่าง เดอะ คาร์เพ็นเทอร์สร็อด สจ๊วตคาร์ลี ไซมอนแฌร์ เป็นต้น
ในยุค 80 มีศิลปินป็อปที่ได้รับความนิยมอย่าง ไมเคิล แจ็คสันมาดอนน่าทิฟฟานีเจเน็ท แจ็คสัน‎, ฟิล คอลลินส์แวม! ลักษณะดนตรีจะมีการใส่ดนตรีสังเคราะห์เข้าไป เพลงในยุคนี้ส่วนใหญ่จะเป็นเพลงเต้นรำและยังมีอิทธิพลถึงทางด้านแฟชั่นศักดิ์ชัย ด้วย
ในยุค 90 เริ่มได้อิทธิพลจากเพลงแนวอาร์แอนด์บี เช่น มารายห์ แครีเดสทินี ไชลด์บอยซ์ ทู เม็นเอ็น โวคทีแอลซี ในยุคนี้ยังมีวงบอยแบนด์ที่ได้รับความนิยมอย่าง นิว คิดส์ ออน เดอะ บล็อกเทค แดท,แบ็คสตรีท บอยส์
ในยุค 2000 มีศิลปินที่ประสบความสำเร็จอย่าง บียอนเซ่บริทย์นี สเปียร์คริสติน่า อากีเลร่าแบล็ค อายด์ พีส์จัสติน ทิมเบอร์เลค ส่วนเทรนป็อปอื่นเช่นแนว ป็อป-พังค์ อย่างวง ซิมเปิ้ล แพลนเอฟริล ลาวีนรวมถึงการเกิดรายการสุดฮิต อเมริกัน ไอดอลที่สร้างศิลปินอย่าง เคลลี่ คลาร์กสัน และ เคลย์ ไอเคน แนวเพลงป็อปและอาร์แอนด์บีเริ่มรวมกัน มีลักษณะเพลงป็อปที่เพิ่มความเป็นอาร์แอนด์บีมากขึ้นอย่าง เนลลี เฟอร์ตาโดริฮานนา, จัสติน ทิมเบอร์เลค เป็นต้น

เวิลด์มิวสิก


เวิลด์มิวสิก (อังกฤษWorld music) มีความหมายถึงเพลงท้องถิ่น[1]หรือเพลงโฟล์กในวัฒนธรรมต่าง ๆ ที่สร้างสรรค์และเล่นโดยนักดนตรีท้องถิ่น
ในทางตะวันตก คำว่า "เวิลด์มิวสิก" จะหมายถึงดนตรีที่ไม่ใช่ดนตรีจากอเมริกาเหนือและดนตรีป็อปอังกฤษ หรือเป็นดนตรีโฟล์กท้องถิ่น หรือดนตรีที่รวมเพลงท้องถิ่นหลายอย่าง ตัวอย่างของแนวเพลงเช่น ดนตรีเร้กเก้ในจาเมกาหรือลาตินป็อป เป็นต้น ที่เติบโตจนแยกเป็นแนวเพลงเฉพาะ เพลงจีนหรือเพลงท้องถิ่นแอฟริกัน ก้ถูกจำแนกว่าเป็นเวิลด์มิวสิกเช่นกัน

แร็ป


แร็ป (Rap) คือการพูดในลักษณะคำกลอนลงจังหวะเพลง โดยส่วนใหญ่จะใช้จังหวะเร็ว เป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบของวัฒนธรรมฮิปฮอป
แร็ปเป็นการร้องแบบที่เป็นจังหวะ การร้องคล้ายเสียงพูด และเนื้อหาของเพลงที่มีความหมายและมีความคล้องจองกัน รวมทั้งเน้นที่การกำกับจังหวะ โดยใช้จังหวะกลองอิเล็กทรอนิกส์ และเทคนิคการ Sampling งานเพลงอื่นๆ
การแร็ปได้พัฒนาทั้งภายในและนอก ของดนตรีแนวฮิปฮอป Kool Herc ชาวจาไมก้าในนิวยอร์กได้เริ่มการพูดลงบนเพลงประเภทแด๊นซ์ฮอล ในทศวรรษที่ 70 จนในทศวรรษที่ 80 ความสำเร็จของวงรัน-ดีเอ็มซี ได้เปิดกว้างให้วงการเพลงแร็ป พอถึงปลายยุคทศวรรษที่ 90 ฮิปฮอปได้ก้าวเข้าสู่กระแสหลัก ในยุค 2000 ฮิปฮอปใต้ดินเริ่มจะมีการใช้จังหวะที่สลับซับซ้อนมากขึ้น ท้วงทำนองในการพูด เนื้อคำกลอนที่ซับซ้อน และการเล่นคำอย่างสร้างสรรค์ เนื้อเพลงแร็ปมักถ่ายทอดชีวิตบนถนนที่เป็นที่มาของฮิบฮอป ผนวกกับอ้างอิงถึงวัฒนธรรมกระแสนิยม และคำสแลงฮิปฮอปต่าง ๆ
ศิลปินเพลงแร็ปชื่อดังของโลก ได้แก่ เอ็ม ซี แฮมเมอร์วานิลา ไอซ์ดร. อัลแบน เป็นต้น

บลูส์


บลูส์ (อังกฤษBlues) เป็นรูปแบบของดนตรีประเภทหนึ่ง เกิดจากสภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของคนดำที่หลั่งไหลเข้าสู่สหรัฐอเมริกาเพื่อการเป็นทาส สภาพชีวิตที่คับแค้นของพวกเขาได้ถูกนำเสนอผ่านบทเพลงด้วยการร้อง หรือสวดอ้อนวอนในทางศาสนาที่ เป็นท่วงทำนองที่น่าเศร้า อันเป็นเอกลักษณ์ของการร้องและท่วงทำนองที่เกิดจากเครื่องดนตรีที่ไม่มีคุณภาพจากความแร้นแค้น และความรู้ในด้านทฤษฎีดนตรีที่ผิดเพี้ยนไปจากเดิม ทำให้มีเสียงหรือคอร์ดความเพี้ยนซึ่งต่อมาก็ได้สร้างความแปลกหู จนเป็นลักษณะและเอกลักษณ์เฉพาะ
ลักษณะสำคัญของเพลงบลูส์คือ การใช้เสียงร้อง หรือเสียงของเครื่องดนตรีที่เพี้ยนจากเสียงในบันไดเสียง ซึ่งเรียกกันว่า เบนท์ หรือ บลูโน้ต และการสไลด์เสียง ปกติเพลงบลูส์เป็นเพลงในอัตราจังหวะ 4/4 ใน 1 วรรคจะมี 12 ห้องเพลง การร้องแต่ละวรรคจะมีการอิมโพรไวเซชั่นไปจากทำนองเดิม เช่นเดียวกับการบรรเลงโดยเครื่องดนตรี
ลักษณะเฉพาะของเพลงบลูส์ถูกวางด้วยด้วยรากฐานจากความเจ็บปวดแร้นแค้น ทุกข์ทรมาน ของชีวิต เนื้อเพลง และสำเนียงของบลูส์จึงแฝงความเจ็บปวดคล้ายการสะอึกสะอื้นเวลาร้องให้ จึงใช้แสดงอารมณ์เศร้าได้ดี นอกจากนั้น เรื่องของจังหวะ (rhythm) ของบลูส์ที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ และเป็นแบบแผนนำไปสู่ดนตรีรูปแบบอื่นมากมาย เช่น ฟังค์,โซลฟังค์,ริทึ่ม แอนด์ บลูส์ร็อก แอนด์ โรล เป็นต้น
ศิลปินบลูส์ที่น่าสนใจมีด้วยกันในหลายยุค เช่น BB.king ("You Know I Love You," "Woke Up This Morning," "Please Love Me,"), Muddy Waters, Buddy Guy, Stevie Ray Vaughan, Eric Clapton, John Lee Hooker,Jimi Hendrix
ที่มาของคำว่า บลูส์ ในภาษาอังกฤษ blues หมายถึง อาการโศกเศร้า ในประโยคเช่น I feel blues.

บทประพันธ์ที่สำคัญในยุคคลาสสิก


  • Orfeo and Eurydice - กลุ๊ค
  • Symphony No.104 - ไฮเดิน
  • The Creation (Oratorio) - ไฮเดิน
  • String Quartet in G Major, Op.64 No.4 - ไฮเดิน
  • Symphony No.41 in C Major "Jupiter" K.551 - โมซาร์ท
  • Piano Concerto in C Major, K.467 - โมซาร์ท
  • String Quartet in G Major, K.387 - โมซาร์ท
  • The Marriage of Figaro (Opera) - โมซาร์ท
  • Don Giovanni (Opera) - โมซาร์ท
  • Thr Magic Flute (Opera) - โมซาร์ท
  • Requiem Mass, K.626 - โมซาร์ท
  • Piano Sonata in C Major, Op.2 No.3 - เบโธเฟน
  • Symphony No.1,2 - เบโธเฟน
  • Sonata in D Major, K.119 - สกาลัตตี
  • Concerto for Harpsichord or Piano and Strings in E-flat Major, Op.7 No.5 - บาค

ลักษณะดนตรียุคคลาสสิก



ในยุคคลาสสิกเลิกนิยมการสอดประสานของทำนอง (Counterpoint) แต่หันมานิยมการใส่เสียงประสานแบบโฮโมโฟนี (Homophony) คือการเน้นทำนองหลักเพียงแนวเดียว โดยมีแนวเสียงอื่นประสานให้ทำนองไพเราะมากขึ้น มีแนวประสานเป็นคอร์ด หรืออาร์เพจจิโอ (arpeggio) หลายแนวที่มีจังหวะคล้ายกัน โดยเลิกใช้แนวเบสต่อเนื่อง (basso continuo) และความสำคัญของการด้นสด (Improvisation) เริ่มหมดไปในยุคนี้ เพราะดนตรีส่วนมากมีการเขียนเสียงประสานครบถ้วน คีตกวีจะระบุวิธีการบรรเลงอย่างชัดเจน
เกิดบทเพลงลักษณะใหม่ๆ ขึ้นในยุคนี้ คือ ซิมโฟนี คอนแชร์โต และโซนาตา ลักษณะการผสมวงมีกำหนดแน่นอนว่าเป็นวงเล็กหรือวงใหญ่ คือเป็นวงแชมเบอร์มิวสิก หรือวงออร์เคสตรา เพลงบรรเลงนิยมประพันธ์กันมากขึ้น เพลงร้องยังคงมีการประพันธ์อยู่เช่นเดิม โอเปร่า เป็นที่นิยมชมกันมาก ผู้ประพันธ์หลายคนจึงประพันธ์แต่โอเปร่าเป็นส่วนใหญ่ ลักษณะของโอเปร่าในยุคนี้จะเน้นเรื่องศิลปะการแสดงมากขึ้น มิใช่เน้นเพียงการร้องเท่านั้น
เครื่องดนตรีในยุคนี้ได้รับการพัฒนามากขึ้น ในวงออร์เคสตรามีการใช้เครื่องดนตรีครบทุกประเภท การใช้เครื่องดนตรีในยุคคลาสสิกจะพบว่าใช้เปียโนเป็นส่วนมาก ไม่ค่อยมีการใช้ฮาร์ปซิคอร์ดอีก ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 มีการใช้เครื่องคลาริเน็ต ฟลูตและบาสซูน

ดนตรียุคคลาสสิก

ยุคคลาสสิก (อังกฤษClassical period) เป็นยุคของดนตรีระหว่าง ค.ศ.1750-1820 ดนตรีมีการเปิดกว้างสู่ประชาชนเป็นดนตรีนอกโบสถ์ (secular music) มากขึ้น ดนตรียุคคลาสสิกมีลักษณะความเป็นจริง มีความสมดุล และแจ่มชัดในรูปแบบ ในยุคนี้ดนตรีบรรเลงมีความเด่นกว่าเพลงร้อง ดนตรียุคคลาสสิกเป็นดนตรีบริสุทธิ์ (absolute music) คือ ดนตรีที่ไม่มีจินตนาการอยู่เบื้องหลัง ไม่มีบทกวีประกอบ เป็นดนตรีที่มีแต่เสียงดนตรีบริสุทธิ์ ตรงข้ามกับดนตรีในยุคโรแมนติกที่เป็นดนตรีพรรณนา (program music) คือดนตรีที่มีเรื่องราว ยุคนี้มีกรุงเวียนนาของออสเตรียเป็นศูนย์กลางของดนตรี

ประเภทเครื่องดนตรีสากล



เครื่องดนตรีคือสิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเพื่อกำเนิดเสียงชนิดต่างๆ ตามที่ต้องการ เสียงของเครื่องดนตรีแต่ละชนิดมีความแตกต่างกันออกไป ทำให้เกิดความหลากหลายของเสียง บทเพลงมีสีสัน มีชีวิตชีวา เสริมสร้างอารมณ์จากเสียงของเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ เครื่องดนตรีสากลในปัจจุบันสามารถจำแนกหรือจัดเป็นประเภทใหญ่ๆ ตามลักษณะของเสียงที่คล้ายคลึงกัน และลักษณะของเครื่องดนตรี แบ่งออกเป็น 5 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้

  • เครื่องสาย (String Instruments) 
  • เครื่องลมไม้ (Woodwind Instruments) 
  • เครื่องลมทองเหลือง (Brass Instruments)
  • เครื่องลิ่มนิ้ว (Keyboard Instruments) 
  • เครื่องกระทบ (Percussion Instruments) 

ประโยชน์ของดนตรี


  • พัฒนาความคิดสร้างสรรค์
  • พัฒนาด้านอารมณ์
  • พัฒนาด้านภาษา
  • พัฒนาด้านร่างกาย
  • พัฒนาด้านปัญญา
  • พัฒนาด้านความเป็นเอกบุคคล
  • พัฒนาด้านสุนทรีย์

Pop Music

Pop music (a term that originally derives from an abbreviation of "popular") is a genre of popular music which originated in its modern form in the 1950s, deriving from rock and roll. The terms popular music and pop music are often used interchangeably, even though the former is a description of music which is popular (and can include any style), whilst the latter is a specific genre containing qualities of mass appeal

ดนตรี

ดนตรี (อังกฤษmusic) คือ เสียงและโครงสร้างที่จัดเรียงอย่างเป็นระเบียบแบบแผน ซึ่งมนุษย์ใช้ประกอบกิจกรรมศิลปะที่เกี่ยวข้องกับเสียง โดยดนตรีนั้นแสดงออกมาในด้านระดับเสียง (ซึ่งรวมถึงท่วงทำนองและเสียงประสานจังหวะ และคุณภาพเสียง (ความต่อเนื่องของเสียง พื้นผิวของเสียง ความดังค่อย) นอกจากดนตรีจะใช้ในด้านศิลปะได้แล้ว ยังสามารถใช้ในด้านสุนทรียศาสตร์ การสื่อสาร ความบันเทิง รวมถึงใช้ในงานพิธีการต่าง ๆ ได้